หากสรุปความเดิมจากตอนที่ 1 เราอาจสามารถสรุปได้ว่า การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่เข็มแข็งในอนาคต มิใช่เพียงผลิตคนป้อนตลาดแรงงาน
สิ่งสำคัญที่สุด ต้องปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ใหม่ ให้ผู้เรียนได้ค้นพบตัวเอง และสามารถออกแบบเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากผู้รู้จริง เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากปัญหาสถานการณ์จริง เรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่ม เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสงบและสันติ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปรับ
จากการยัดเยียดความรู้ ไปเป็นผู้มีบทบาทในการเอื้ออำนวยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนค้นพบตนเอง และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ทั้งทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้จากผู้รู้จริง เรียนรู้จากปรากฏการณ์ สถานการณ์ และปัญหาจริงที่เกิดในสังคม ชุมชน และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิต
จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการพัฒนาครู ทั้งครูที่มีอยู่ปัจจุบันและการผลิตครูใหม่ และมองบทบาทครูให้มีความหมายที่กว้างกว่าเดิม โดยเชื่อมโยงกับพ่อ แม่ ผู้รู้ ผู้นำศาสนา ครูภูมิปัญญา ที่มี "ความเป็นครู" โดยธรรมชาติ
ในทางปฏิบัตินั้น ไม่จำเป็นต้องรอกระทรวงศึกษาธิการ แต่ควรเริ่มจากภาคีทางสังคมที่มีความพร้อม ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดผลจริง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ต้องมีการสรุปตัวอย่างความสำเร็จที่มีอยู่แล้วมากมายให้เป็นระบบ เพื่อให้คนเห็นทางเลือกการศึกษาต่างๆ อย่างกว้างขวาง และเข้ามามีส่วนร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในอนาคต
นโยบาย ต้องเปลี่ยน
สุดท้าย ต้องมีการปลดล้อคกฎ ระเบียบ นโยบาย และกฎหมาย ที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาอย่างจริงจัง และมีการบริหารจัดการศึกษาโดยคนในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ และเป็นการจัดการศึกษาของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
Commentaires