คำถามนี้นับว่าเป็นปัญหาโลกแตกกกมากเลยใช่มั้ยคะ ?
ผู้ปกครองบางคนก็เครียดว่า การที่เราสุดโต่งไปทางใดทางนึงแล้วเนี่ย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ทางเราคิดว่าคงไม่ใช่สุดโต่งไปทั้ง 2 ข้าง แต่ว่าต้องมี ‘สมดุล’ และต้องจัดการให้เหมาะกับวัย
เด็กคนหนึ่งจึงจะเติบโตมาโดยมีอิสระเสรีภาพ อย่างรู้ขอบเขต มีระเบียบวินัยอย่างเหมาะสม
.
หลักการคือ ถ้าเด็กยังเล็กๆ พ่อแม่ต้องเป็นคนคอยบอกและสอนว่าอะไรบ้างที่ทำได้อะไรบ้างที่ทำไม่ได้ ให้เด็กรู้ขอบเขต คือมีอิสระแต่ก็ต้องมีขอบเขต
เข้มงวดในขอบเขต คือ ทำไม่ได้ถ้าสิ่งที่ทำนั้นจะไม่สร้างอันตรายและส่งผลเสียรบกวนต่อตัวเองและคนรอบข้าง
ตรงนี้พ่อแม่ควรเข้มงวดและสอนตั้งแต่เด็กยังเล็ก เมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะรู้จักขอบเขตในชีวิตมีการกระทำอย่างเหมาะสม เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเขาก็จะมีอิสระเสรีภาพตามวัยที่มากขึ้นและตามพัฒนาการด้วย
.
คุณพ่อคนหนึ่งที่คุณหมอท่านหนึ่งคุยด้วย คุณพ่อคนนี้ให้อิสระ และตามใจลูกอย่างมากตั้งแต่เล็ก
คุณพ่อมีลูกสาววัยรุ่นที่มาด้วยปัญหาพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง ใครขัดใจไม่ได้
คุณพ่อบอกว่า
"พ่อแม่ผมเองดุมากทั้งคู่ ไม่เคยได้อะไรอย่างที่อยากได้ อยากไปไหนไม่เคยได้ไป พอมามีลูก ไม่อยากให้ลูกรู้สึกเหมือนเรา เลยให้เขาหมดถ้าทำได้ อยากทำอะไรก็ปล่อย อยากให้มีอิสระ ไม่กลายเป็นคนเก็บกดเหมือนเรา"
พ่อแม่หลายคนที่หมอเจอ มักจะให้ "อิสระ"กับลูกจนลืมเข้มงวดใน "กฏระเบียบ"
ลูกอยากทำอะไร ก็ได้ทำ เด็กจึงไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะควบคุมยับยั้งความต้องการ ไม่รู้จักรอคอย
เมื่อได้"อิสระ"มาตลอด จึงต้องคอยเรียกร้อง"อิสระ"อยู่ร่ำไป
สิ่งที่ควรมาก่อนอิสระ นั่นก็คือ กฏระเบียบ พ่อแม่ควรให้ลูกเรียนรู้ "กฏระเบียบ" ก่อนหน้าที่จะให้รู้จัก "อิสระ"
เพื่อที่เด็กจะสามารถควบคุมตัวเองได้ แม้จะมีอิสระ ก็รู้ว่า อิสระนั้นต้องมีขอบเขต
.
พ่อแม่หลายคนบอกว่า ลูกยังเด็กก็ปล่อยๆไปก่อนตามใจไปก่อน ค่อยไปเข้มงวดและจัดระเบียบตอนที่ลูกโตแล้ว
ในความเป็นจริง ตอนที่เด็กยังเล็ก ต้องมีกฏระเบียบควบคู่ไปด้วย แล้วตอนที่เด็กโตขึ้น ค่อยให้เค้ามีอิสระมากขึ้น
เพราะพ่อแม่อย่างเรา คงไม่สามารถเข้มงวดควบคุมลูกตลอดไป เด็กต้องมีกฏระเบียบในชีวิตตัวเอง ที่ได้จากการเรียนรู้และปลูกฝังของพ่อแม่ตอนที่ลูกยังเล็ก
ขอขอบคุณคุณหมอมินบานเย็นสำหรับคำแนะนำที่ดี และขอบอกแชร์ต่อในที่นี้ด้วยค่ะ :D
Comments