ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์เรื่องการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข Pavlov ทดลองกับสุนัขโดยการสั่นกระดิ่งแล้วเอาเนื้อใส่ปากสุนัข ทำซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง ตามปกติสุนัขจะหลั่งน้ำลายเมื่อมีเนื้อในปาก แต่เมื่อนำเนื้อมาคู่กับเสียงกระดิ่งเพียงไม่กี่ครั้ง เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียว ก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นในสุนัข “เดิมทีสุนัขมิได้หลั่งนํ้าลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อนำเสียงกระดิ่งไปคู่กับเนื้อ สุนัขก็หลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องมีเนื้อ”
จากการทดลองของ Pavlov จะเห็นว่าสุนัขได้เอาเสียงกระดิ่งเป็นตัวแทนของเนื้อ(อาการน้ำลายไหล) คือเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งก็คิดว่าต้องได้กินเนื้อแน่ๆ ทั้งที่บางครั้งมีเพียงเสียงกระดิ่งอย่างเดียว
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)
Pavlov Classical Conditioning - Psychestudy (Link for Pic.)
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)
ทั้งนี้ในมนุษย์เราก็มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ สมมติว่า เราลองโผล่หน้าไปเล่น “จ๊ะเอ๋” เด็กอาจจะหัวเราะสนุกสนาน ทีนี้ลองอีกครั้งโดยโผล่หน้าไปเหมือนเดิมคล้ายๆ กับครั้งแรก แต่ครั้งนี้ให้เอาถาดหรือปี๊บติดมือไปด้วย แล้วโผล่หน้าออกไปพร้อมกับตีปี๊บให้เสียงที่สุดแน่นอนเด็กส่วนใหญ่ต้องร้องไห้เพราะตกใจกลัว ที่นี้ลองทำซ้ำอีกสักครั้งสองครั้ง ท้ายที่สุดเด็กจะร้องให้ทันทีที่เห็นหน้าคุณ โดยไม่ต้องตีปี๊บแต่อย่างใด
จากนั้นเมื่อโตขึ้นมาหน่อยก็ใช่ว่าพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขนี้จะหายไปจากตัวเราแต่อาจจะซับซ้อนขึ้นมาหน่อยโดยมีความเป็นนามธรรมมากขึ้น อย่างเช่น เมื่อตอนผู้เขียนยังเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งคุณพยาบาลตอนนั้นมือหนักพอควร จนถึงทุกวันนี้เมื่อเห็นคุณหมอพร้อมกับเข็มฉีดยาหรือต้องฉีดยาจะเกิดอาการกลัวพยายามบ่ายเบี่ยงไม่กล้ามองตอนเข็มจิ้มลงไป (ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่เจ็บเลยก็ว่าได้) เนื่องจากในสมองเราเข็มฉีดยาได้เป็นตัวแทนของความเจ็บปวดไปเรียบร้อยแล้ว
ทีนี้ลองมาดูบทบาทของพ่อแม่ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบนี้ดู สมมติตอนนี้ผู้อ่านทุกคนมีลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนทุกครั้งที่ลูกเกิดคำถามหรือสงสัยบางสิ่งบางอย่างตัวผู้อ่านไม่เคยเต็มใจที่จะตอบหรือตอบแบบขอไปที แล้วทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผ่านมาสักระยะ ผู้อ่านสังเกตได้ว่าลูกไม่เคยมาถามอะไรอีกเลย ณ วันนั้นลองคิดดูว่าในสมองของลูกได้แทนที่ตัวผู้อ่านกับความรู้สึกแบบใด? และมันเกี่ยวข้องการเป็น “safe zone” ของลูกโดยตรง
สุดท้ายในบทบาทของครู จะลองสมมติสถานการณ์เดียวกัน ตอนนี้ตัวผู้อ่านเป็นคุณครูทุกครั้งที่นักเรียนถามจะโดนถามกลับทำไมไม่อ่านหนังสือมาก่อน หรือบางครั้งอาจจะตอบว่าเรื่องที่นักเรียนถามไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนเลย หรือร้ายที่สุดคือไม่ตอบอะไรเลย และเช่นเดียวกันตอนนี้ในสมองของนักเรียนได้แทนที่ครูกับความรู้สึกแบบใด?
.พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)
.พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning) .พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)
เมื่อพิจารณาเรื่องนี้บางทีชุดคำถามเหล่านี้ เช่น “ทำไมลูกทำอะไรไม่ปรึกษาพ่อก่อน”
“ทำไมหนูไม่พูดตรง ๆ ลูก” “ไม่เข้าใจทำไมไม่ถามครู”
ก็มีคำตอบของมันอยู่ตั้งนานแล้ว
Komentar