top of page
ค้นหา

เด็กๆกับการฝึกสมาธิ ให้ประโยชน์กว่าที่คิด


เด็กกับการไม่อยู่นิ่งเป็นของคู่กัน ต้องหากิจกรรมต่าง ๆ ให้เขาทำ การฝึกให้เด็กมีสมาธิมีผลดีหลายอย่าง การฝึกสมาธิเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ต่อไป และยังช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับความเครียด ความกดดัน หรือความกลัวได้ดีขึ้น


วันนี้ทาง เดอะบัดดี้ ก็มีเรื่องมาแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์และแนวทางเยอะแยะมากมาย เกี่ยวกับการทำสมาธิค่ะ :D


การฝึกสมาธิของเด็กไม่จำเป็นต้องเป็นการนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจอย่างที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติเพียงอย่างเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กมักจะมีสมาธิในการได้ทำสิ่งที่ตนเองชอบอยู่แล้ว เช่นเวลาที่ได้ระบายสี วาดรูป หรือเล่นของเล่นที่ตนสนใจ เหมือนกับการพยายามฝึกให้เขาได้หยุดการเคลื่อนไหวไปมา แล้วมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลาที่นานขึ้นนั่นเอง


การร้องเพลงเบา ๆ  เป็นการฝึกการใช้สมาธิอย่างหนึ่งให้กับเด็ก ทำเหมือนกับที่เราร้องเพลงกล่อมให้เขานอนหลับนั่นแหละ เนื่องจากบทเพลงและน้ำเสียงที่เราใช้ จะช่วยทำให้เด็กผ่อนคลาย และสงบขึ้น การที่เขาได้ร้องเพลงเบา ๆ ก็เช่นเดียวกัน


การเล่นเกมฟังเสียงกระดิ่งว่ามาจากทางไหน ในขณะที่นั่งตัวตรงหลับตา แล้วฟังเสียงกระดิ่งที่เราสั่นเบา ๆ หรือให้เขานับจำนวนครั้งที่ได้ยินเสียงตรงข้างหู โดยมีแรงจูงใจเป็นรางวัลต่าง ๆ ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะตั้งใจฟัง จดจ่อ อยู่กับความนึกคิดของเขาเอง หรือให้เขานอนหงายพร้อมกับหลับตาเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น


ใช้จินตนาการตามนิทานที่เราเล่าให้ฟังอย่างช้า ๆ พยายามหานิทานเรื่องที่ช่วยให้เด็กได้ใช้จินตนาการ เช่น เนื้อเรื่องที่บรรยายถึงสัตว์ในเทพนิยาย ว่ามีลักษณะและสีอย่างไร ในขณะที่ให้เขานั่งหลับตา แล้วหลังจากนั้นอาจจะให้เขาถ่ายทอดจินตนาการของตนเอง ด้วยการวาดรูปและระบายสี





การนับลมหายใจเข้าและออก เริ่มด้วยการเล่นเกม นั่งตัวตรงและหลับตา นับลมหายใจเข้าและออกให้นานขึ้น และเพิ่มจำนวนครั้ง พยายามฝึกให้เขาคุ้นเคยกับการรับรู้ถึงการหายใจของตัวเอง และพยายามช่วยให้เขาคุ้นเคยกับการใช้วิธีดังกล่าวนี้ เมื่อต้องการให้เขามีสมาธิ หรือเมื่อต้องการให้เขาผ่อนคลาย เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ที่จะมีสมาธิอยู่กับความนึกคิดของตัวเองได้ดีขึ้นด้วย

จากสถิติจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการฝึกสมาธิในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีผลการสอบวิชาคณิตศาสตร์ดีขึ้น มีความสุข และมีปฏิกิริยากับความเครียด ความกดดันต่าง ๆ ดีขึ้น สงบขึ้น และสามารถอยู่กับกิจกรรมที่กำลังทำได้นานขึ้นด้วย


เป็นไงบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่มั้ย เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากนั่นเอง

เห็นแบบนี้แล้ว ลองนำไปปรับใช้กับเด็กๆของเรากันเลยดีกว่าค่า :D



ดู 846 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page