มันไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้วนะคะ
อันที่จริงแล้ว "ข่มขืนแล้วฆ่า" ก็เป็นโทษฐาน "ฆ่าผู้อื่น" ซึ่งมีระวางโทษถึง "ประหารชีวิต" อยู่แล้ว ตามมาตรา 288 หรือ 289 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
อาจจะเป็นไปได้ว่าที่เห็นการออกมาประท้วง ส่วนหนึ่งอาจจะไม่เข้าใจกฎหมายเท่าที่ควร หรือส่วนหนึ่งอาจจะเรียกร้องซึ่งมีเจตนารมณ์ให้มีการประหารโดยทันทีหลังการกระทำความผิด
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไปซักหน่อย
ปัจจุบันมีนักโทษล้นคุก เฉพาะ ค่าอาหาร แต่ละวันตกอยู่ราวๆคนละประมาณ 200 บาท (ข้อมูลปัจจุบันมีนักโทษประมาณ 300,000 กว่าคน งั้นเราเสียภาษีของเราเพื่อทำบุญเลี้ยงนักโทษ วันละ 60 ล้านบาท ! นี่ยังไม่รวมค่าไฟ ค่าน้ำ ไหนยังงบประมาณในการสร้างเรือนจำแห่งใหม่อยู่เรื่อยๆ เพื่อทดแทนจำนวนนักโทษที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาดูจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เหล่านี้กันก่อนนะคะ
>> พ่อแม่ ไม่เล็งเห็นถึงการศึกษา เล่นการพนันเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่รู้จักการคุมกำเนิด เลี้ยงลูกแบบไม่เข้าใจจิตวิทยา ใช้ความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำกับคนในครอบครัว
>> ลูก ถูกเลี้ยงมาด้วยความละเลย จะเรียนก็ได้ไม่เรียนก็ได้ ได้รับการใช้ความรุนแรง ถูกพ่อแม่ฝากไว้กับปู่ย่าหรือตายาย ไม่ได้รับความเข้าใจจากผู้ใหญ่ หันไปเข้าสังคมกับเพื่อนที่มีลักษณะจิตใจแบบเดียวกัน ต้องทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เพื่อให้ได้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน สุดท้าย มีลูกก่อนวัยอันควร
เพราะฉะนั้น... ก่อนที่จะเรียกร้องให้มีโทษประหาร ลองคิดซักนิดว่า เราจะยอมให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน แล้วแก้ไขที่ปลายเหตุ อย่างนั้นหรือ?
ถ้าการกระทำความผิดใดๆนั้นเกิดขึ้นกับเราหรือคนรอบข้างเราแต่โชคยังดีที่เรารอดชีวิตมาได้
ลองเลือกตัวเลือกต่อไปนี้ดูว่า เราจะเลือกแบบไหน??? 1. ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด 2. ขอย้อนเวลากลับไป ไม่ได้เกิดเหตุการณ์นั้น
แม้ด้านกฎหมาย ที่ดูเหมือนจะเป็นกระบวนการสุดท้ายของการกระทำความผิด
แต่อยากเป็นหนึ่งเสียงที่อยากจะพัฒนาจุดเริ่มต้นของสังคม
เพราะเราไม่รู้ว่า ภัยร้ายจะเข้ามาใกล้เราเมื่อใด
ถ้าใครมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ลองนึกดูใหม่ว่า การที่เราปล่อยให้เยาวชนรุ่นใหม่เติบโตมาเป็นบุคคลน่ากลัวเช่นนี้ แล้วถ้าหากว่าวันหนึ่งเรากลายเป็นเหยื่อ ถ้ามองย้อนกลับไปเรารู้สึกจะเสียใจหรือไม่ ที่จริงๆแล้ว เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสังคมอันน่ากลัวนี้ขึ้นมาด้วย ความละเลย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา และไอเดียดีดีจากนักกฏหมายคนเก่ง Paya Bupphapho
Comments